กรัก(แก่นขนุน)

สมุนไพรไทยกับสุขภาพ โดย…บ้านคุณหมอ

รูปต้นขนุน

ต้นขนุน

กรัก(แก่นขนุน)
ชื่ออื่นๆเช่น ขะนุน(เหนือ,ใต้),หมักหมี้(อีสาน),บักมี่,ขะนู(จันทบุรี),นากอ(มลายู-ปัตตานี),โนน(นครราชสีมา),ขนุนขะเนอ(เขมร),Jack Fruit Tree
ชื่อวิทยาศาสตร์ Artocarpus heterophyllus Lam. วงศ์ MORCEAE
เป็นสมุนไพรไทยไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ สูง 8-15 เมตร เมื่อเกิดบาดแผลที่ลำต้นและกิ่งจะมีน้ำยางสีขาวคล้ายน้ำนมไหลออกมา
ใบ เป็นใบเดี่ยวเรียงสลับ แผ่นใบรูปรี ขนาดกว้าง 5-8 เซนติเมตร ยาว 10-15 เซนติเมตร ปลายใบทู่ถึงแหลม โคนใบมน ผิวในด้านบนสีเขียวเข้มเป็นมันเนื้อใบเหนียวและหนา ผิวใบด้านล่างจะสากมือ
รูปขนุน

ขนุน

ดอก เป็นช่อแบบช่อเชิงสด แยกเพศอยู่รวมบนต้นเดียวกัน ดอกเพศผู้เรียกว่า “ส่า” มักออกตามปลายกิ่ง ดอกเพศเมียจะออกตามกิ่งใหญ่และตามลำต้น ยอดเกสรเพศเมียเป็นหนามแหลม ส่วนของเนื้อที่รับประทานเจริญมาจากกลีบดอก ส่วนซังคือกลีบเลี้ยง
ผล เป็นผลรวมขนาดใหญ่
สรรพคุณ
ใบ รสฝาดมัน รักษาหนองเรื้อรัง นำใบสดมาตำให้ละเอียด อุ่นผอกแผลหรือเผาให้เป็นถ่านผสมกับน้ำปูนใสหยอดหู แก้ปวดหู แก้หูเป็นน้ำหนวก
เนื้อหุ้มเมล็ด รสหวานมันหอม บำรุงกำลัง และชูหัวใจให้ชุ่มชื่น
เนื้อในเมล็ด รสหวานมัน บำรุงน้ำนม ขับน้ำนม และบำรุงกำลัง
ยาง รสจืด ฝาดเฝื่อน แก้อักเสบบวม แผลมีหนองเรื้อรัง แก้ต่อมน้ำเหลืองอักเสบ ขับพยาธิและขับน้ำนม
แก่นรสหวานอมขม บำรุงโลหิต แก้กามโรค ขับพยาธิ ระงับประสาท และแก้โรคลมชัก
ราก รสหวานอมขมแก้ไข้ แก้ธาตุน้ำกำเริบ แก้ท้องร่วง ฝาดสมานบำรุงกำลัง บำรุงโลหิต และโลหิตพิการ
ไส้ขนุน รสฝาดหวานหอม แก้ตกเลือดทางทวารเบาของสตรี
ฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา
จับกลุ่มกับอสุจิ เม็ดเลือดแดง แบคทีเรีย และของเหลวในร่างกาย ยับยั้งเอนไซม์โปรตีเอส ลดน้ำตาลในเลือด กระตุ้นการเจริญเพิ่มของเม็ดเลือดขาว

รูปยาบรรเทาริดสีดวงทวาร เอส พี